Mammo

ศูนย์ตรวจและทดสอบสมรรถภาพหัวใจโรงพยาบาลค่ายประจักษศิลปาคม

ศูนย์ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง

Echocardiogram Center


โรงพยาบาลค่ายประจักษศิลปาคม


ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ โดยหัวตรวจชนิดพิเศษ เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูง ผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งแตกต่างกันระหว่างน้ำ เนื่อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้ มาสร้างภาพ ดังนั้น ภาพที่เห็นก็คือ หัวใจของผู้ป่วย Echocardiogram จึงช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษา ในโรคหัวใจและ หลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • โรคหัวใจแต่กำเนิด
  • โรคลิ้นหัวใจพิการ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ
  • โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ                                                                                                      

การตรวจ Echo นิยมทำ 2 วิธีคือ

1.ตรวจโดยการใช้หัวตรวจ ตรวจบริเวณผนังทรวงอกด้านนอก

(Tran Thoracic Echocardiogram) เป็นการตรวจที่นิยมทำกันทั่วไป วิธีการค่อนข้างง่าย ไม่เจ็บตัว ไม่มีอันตรายใดๆ เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อย ท่านจะสามารถทราบผลการตรวจได้ทันที

  
2.ตรวจโดยการใช้หัวตรวจ สอดผ่านช่องปาก เข้าไปอยู่ในหลอดอาหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งด้านหลังของหัวใจโดยตรง 
(Tran Esophageal Echocardiogram)  การตรวจวิธีนี้สามารถตรวจโครงสร้างของหัวใจ และหลอดเลือดที่อยู่ด้านหลังหัวใจ เช่นหัวใจห้องซ้ายบน ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจได้ชัดเจนกว่าวิธีแรกวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางรายเช่น ผนังหน้าอกหนามาก(อ้วน)เป็นต้นแต่การตรวจวิธีนี้ ไม่ได้ใช้ทดแทนการตรวจวิธีแรก จะทำเฉพาะในรายที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อหลอดอาหารได้ แต่ก็พบน้อยมาก น้อยกว่าร้อยละ 0.5

แพทย์จะสั่งการตรวจเมื่อสงสัยว่า

เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือมีรูรั่ว ( Murmurs ) เสี่ยงที่ผิดปกติเกิดจากการไหลวนของกระแสเลือดไหลผ่านลิ้นที่ตีบหรือรูรั่วที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ 


กรณีสงสัยว่าจะมีรูรั่วหรือลิ้นตีบ

จะมีประโยชน์หลายประการดังนี้ 

  • เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากการตีบหรือรั่วที่ไหน
  • เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียน
  • เพื่อตรวจความผิดปกติอื่นที่อาจจะพบร่วมกัน เพื่อตรวจผลเสียที่เกิดจากการรั่วหรือตีบ ประเมินขนาดของรูรั่วหรือตีบ ประเมินการทำงานของหัวใจ ประเมินการทำงานหรือรูรั่วไว้เพื่อเปรียบเทียบ ประเมินผู้ป่วยหลังการรักษา

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

   •สำหรับการตรวจวิธีที่ 1 ไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าแต่ประการใด   
   •การตรวจวิธีที่ 2 ต้องเตรียมดังนี้   
    1. ผู้รับการตรวจจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้งดน้ำงดอาหาร 4 - 6 ชม. ก่อนตรวจ   
    2. ผู้รับการตรวจต้องไม่มีประวัติแพ้ยา และประวัติกลืนลำบาก     
    3. ในวันตรวจหากผู้รับการตรวจมีฟันปลอม ควรถอดเก็บไว้ก่อน     
    4. ผู้รับการตรวจทุกรายต้องลงชื่อในใบยินยอม ก่อนการตรวจทุกครั้ง


ตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย

Exercise stess test/EST

การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย Exercise Stress Test (EST) อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังเดินบนสายพาน Stress Electrocardiogram คือ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับความดันโลหิต และการเปลี่ยน แปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานเลื่อน หรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในผู้ที่มีอาการเช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุหรือในผู้ที่ไม่มีอาการแต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรวมทั้งบ่งบอกให้ทราบถึงสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย , หลอดเลือดหัวใจ และความสามารถในการออกกำลังกายของแต่ละบุคคลการตรวจมักใช้เวลาประมาณ 30 นาที

 


จุดประสงค์ของการทดสอบ

มุ่งเน้นการตรวจหา ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี หลักการ คือให้ผู้ป่วย (หรือผู้ที่ต้องการตรวจ) ออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน)เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และมีการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น การทดสอบนี้ ยังช่วยบอกแพทย์ด้วยว่า ผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และใช้ในการติดตามผู้ป่วย ภายหลังได้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยา หรือ การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด

วิธีการทดสอบ

โดยการให้ผู้รับการทดสอบเดินบนสายพาน ต่อขั้ว และสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอก 10 สาย เข้ากับเครื่อง Computer
ในขณะที่เดินอยู่ เครื่อง Computer จะบันทึก และแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้า ภายในหัวใจ พร้อมทั้งความดันโลหิต ตลอดเวลาในขณะทดสอบ จะมีการเพิ่มความเร็ว และ ความชันของเครื่องเป็นระยะๆ ตามโปรแกรมที่จะเลือก ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ทดสอบโดยเฉพาะเป็นรายๆ ไป เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ผู้ทดสอบสามารถทราบผลการทดสอบจากแพทย์ ซึ่งจะเฝ้าสังเกตอาการอยู่ด้วยตลอดการทดสอบได้ทันที

การเตรียมตัวก่อนการทดสอบ

       1.ควรงดการรับประทานมื้อหนักๆ หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ประมาณ 2 - 4 ชม. ก่อนการทดสอบ อนุญาตให้รับประทาน
อาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำผลไม้ได้   
       2.ควรสอบถามแพทย์ ถึงยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำว่า ควรหยุดก่อนการทดสอบหรือไม่ เช่น ยารักษาโรคหัวใจ 
ยารักษา ความดันโลหิตสูง หรือยา ขับปัสสาวะ เป็นต้น ยาบางชนิด อาจจำเป็นต้องหยุด ก่อนตรวจล่วงหน้า   
       3.ควรสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมต่อการทดสอบ เสื้อควรเป็นเสื้อที่มีกระดุมเปิดด้านหน้า เพื่อสะดวกในการเตรียมต่อขั้ว และสายนำ ไฟฟ้า ถ้าเป็นรองเท้า ผ้าใบจะช่วยให้การเดินทดสอบสะดวกยิ่งขึ้น   
       4.ผู้ทดสอบทุกราย จะต้องลงชื่อในใบยินยอมเพื่อรับการทดสอบ ก่อนการทดสอบทุกครั้งขณะตรวจ 

เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นขั้วสัญญาณไฟฟ้า ( electrode) ไว้บริเวณทรวงอกของคุณเพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ คุณจะได้รับคำแนะนำถึงวิธีเดินบนสายพาน หรือถีบจักรยาน โดยคุณจะต้องออกกำลังเป็นเวลาหลายนาที (ประมาณ 10-15 นาที ) แพทย์จะปรับความเร็วและความชันของสายพานทุกๆ 3 นาที การออกกำลังช่วงแรกจะเริ่มช้า ๆ ก่อน จากนั้นจะค่อย ๆ เร็วขึ้นเรื่อย ๆทีละน้อย อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเลือดจะถูกบันทึกตั้งแต่ก่อนออกกำลังกาย ขณะออกกำลัง และหลังการออกกำลัง 


ตรวจวัดแรงดันของหลอดเลือด

ABI

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)ถ้าร่างกายของมนุษย์เปรียบเหมือนเมืองๆ หนึ่ง เส้น เลือดคงไม่ต่างอะไรกับท่อน้ำประปาที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เพื่อนำน้ำสะอาดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของเมือง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ท่อน้ำเกิดอุดตัน เมืองส่วนนั้นก็จะขาดน้ำทันที ร่างกายของคนเราก็เช่นกัน ถ้าเส้นเลือดบริเวณใดเกิดการอุดตัน ก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นได้ นานวันเข้าก็จะเกิดปัญหา เช่นบริเวณมือหรือเท้า เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral Arterial Disease) และอาจจะรุ่นแรงยิ่งกว่า ถ้าเกิดขึ้นกับอวัยวะที่มีความสำคัญมากๆ เช่น สมอง หัวใจ นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคสมองขาดเลือด ดังนั้น การดูแลรักษา
หลอดเลือดแดงให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ไว้แต่เนิ่นๆโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และทำให้หลอดเลือดแดงที่ขาตีบหรือตัน ในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี พบโรคนี้น้อยกว่า 3% แต่ในคนที่อายุมากกว่า 70 ปี พบถึง มากกว่า 20% พบทั้งในเพศชายและเพศหญิงไม่ต่างกัน ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบแม้จะไม่มีอาการใดๆปรากฎก็มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองสูงและในความเป็นจริงผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบก็เสียชีวิตจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง



ABI ย่อมาจากคำว่า ankle-brachial index

คือการหาอัตราส่วน ระหว่าง ความดันโลหิตช่วง systolic ของข้อเท้า หารด้วยความดันโลหิตช่วง systolic ของแขน โดยใช้การวัดจาก Doppler ultrasonography ค่าปกติของค่า ABI มีค่าเท่ากับ 0.91-1.3 ถ้าค่า ABI เท่ากับ 0.9 หรือน้อยกว่า แสดงว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ถ้าค่า ABI เท่ากับ 0.4 พบในรายที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงรุนแรง จากการอุดตันของหลอดเลือดแดง

วิธีตรวจหาค่า ABI

เราจะทำการวัดความดันโลหิตช่วง systolic โดยใช้คลื่นเสียงที่เรียกว่า Doppler ultrasonographyโดยวัดความดันโลหิตที่แขนทั้ง 2 ข้าง(เลือกเอาค่าที่สูงกว่ามาเป็นค่าความดันโลหิตที่แขน) และวัดความดันโลหิตที่ข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง
บริเวณเส้นเลือดแดง anterior tibial และ posterior tibial (วัดความดันโลหิตทั้ง 2 เส้นและเลือกเอาค่าที่สูงกว่ามาใช้คำนวณค่า ABIแต่ละข้าง) 

               
ABI ข้างขวา = ความดันโลหิตช่วงsystolic ของข้อเท้าขวา / ความดันโลหิตช่วงsystolicของแขน                 
ABI ข้างซ้าย = ความดันโลหิตช่วงsystolic ของข้อเท้าซ้าย / ความดันโลหิตช่วงsystolicของแขน


โดยการทำงานของเครื่อง ABI จะเป็นการวัดค่าความดันเลือดที่แขนและขาทั้งหมด 4 จุด แล้วนำไปคำนวณร่วมกับข้อมูลของคนไข้ที่ป้อนเข้าไปในเครื่อง ได้แก่ ชื่อสกุล เพศ ปีเกิด น้ำหนักและส่วนสูง จากนั้นเครื่องจะประมวลพร้อมพิมพ์ผลการตรวจวัดแบบอัตโนมัติโดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อธิบายผลการตรวจวัดให้กับคนไข้ 

ความแม่นยำของค่า ABI ในการทำนายการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบจากการทบทวนข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาทั้งหมด 9 การศึกษา พบว่า การใช้ค่า ABI น้อยกว่า 0.9 บอกว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย นำมาใช้ทำนายการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ มีความไว(sensitivity) 16.5% ความจำเพาะ(specificity) 92.7%การเกิดเส้นเลือดสมองตีบ มีความไว(sensitivity)16% ความจำเพาะ(specificity) 92.2%การเสียชีวิตจากโรคหัวใจ มีความไว(sensitivity) 4.1% ความจำเพาะ(specificity) 87.9%ดังนั้น จะเห็นว่า ความไวในการใช้ทำนายต่ำ แต่มีความจำเพาะในการใช้ทำนาย ค่อนข้างสูง

มาป้องกันภัยร้ายที่อาจจะเกิดกับหลอดเลือดก่อนที่จะสายเกินไป

ด้วยเครื่องตรวจโรคหลอดเลือดส่วนปลาย หรือ ABIสรุปการตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดง ด้วยเครื่อง ABI (Ankle Brachial Index) เป็นวิธีการวัดที่ง่าย และไม่แพง เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงส่วนปลายของขา ค่าที่ได้มีความแม่นยำสูง มีความไว 90% ความจำเพาะ 98% เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบบีบ และอุปกรณ์คลื่นเสียงความถี่สูง โดยเครื่องจะวัดความดันที่หลอดเลือดแขนทั้งสองข้างก่อน จากนั้นเครื่องจะวัดความดันหลอดเลือดที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง ค่า ABI คือ อัตราส่วนระหว่างค่าความดันโลหิตตัวบนของข้อเท้าต่อค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตตัวบนของแขนข้างเดียวกัน ค่า ABI ที่น้อยกว่า 0.9 ถือว่ามีโรคของหลอดเลือดแดงของขา ค่ายิ่งต่ำบ่งบอกว่าหลอดเลือดตีบมากมีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าค่า ABI ทำนายอัตราการเสียชีวิตได้การศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่มีอายุเฉลี่ย 66 ปี ที่มีค่า ABI
ผิดปกติ จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือด และหัวใจมากกว่าผู้ที่มีค่า ABI ปกติ 6.3 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ4.8 เท่า ดังนั้นการตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดแดง โดยการใช้เครื่องวัด ABI (Ankle-Brachail Index) จึงช่วยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ ก็จะพิจารณาให้ยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง


ติดต่อสอบถามและเข้ารับการตรวจได้ที่

ศูนย์ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง โรงพยาบาลค่ายประจักษสิลปาคม อุดรธานีโทรติดต่อสอบ ถามหรือนัดหมายเวลาตรวจ โทร                    เปิดให้บริการ จันทร์-ศุกร์ ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทองหรือประกันสังคม ข้าราชการจ่ายตรง กรุณาเตรียมเอกสารไปพร้อมกับผู้ป่วยใบส่งตรวจ(ใบRefer)+สำเนาบัตรประชาชน+สำเนาบัตรสิทธิ์(บัตรทอง/ประกันสังคม)+เอกสารตรวจสอบสิทธิ์ ข้าราชการสามารถนำใบเสร็จ ไปเบิกคืนต้นสังกัดได้ทั้งหมด

 

สาขาที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค

บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยทำการตั้งตั้งเครื่องมือแพทย์และให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆของระบบอวัยวะในร่ายกายด้วยเครื่องมือแพทย์ที่มีทันสมัย ผลการตรวจที่ถูกต้องแม่นยำ สะดวก ปลอดภัย และใช้เวลาในการตรวจสั้น พร้อมเปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพ ณ สาขาตามโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ ดำเนินงานโดยทีมงาน แพทย์ พยาบาล นักรังสีเทคนิค และบุคคลากรที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมที่จะให้บริการแก่ท่านตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ สะดวกที่ไหน ติดต่อสอบถามหรือเข้ารับบริการได้ที่สาขาใกล้บ้านท่าน


ศูนย์ตรวจวัดแรงดันหลอดเลือด

ศูนย์วัดแรงดันของหลอดเลือด

ABI Center

เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โดยตรวจสัดแรงดันของหลอดเลือดว่าผิดปกติหรือไม่

ศูนย์ตรวจสุขภาพการนอนหลับ

ศูนย์ตรวจสุขภาพการนอนหลับ

SleepLab Test

เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยทางด้านต่างของระบบสมอง

ศูนย์ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ศูนย์ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์

CT Scan Center

บริษัทได้ทำการร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ในการติดตั้งและให้บริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้ป่วยของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลอื่นบริเวณใกล้เคียง

ติดต่อสอบถามและเข้ารับการตรวจ

ได้ที่สาขาใกล้บ้านท่าน

เปิดให้บริการ 24ชั่วโมงทุกวัน

ศูนย์ตรวจเอ็มอาร์ไอ

ศูนย์ตรวจเอ็มอาร์ไอ 

ศูนย์ตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม

ศูนย์ตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม

Digital mammogram Center

ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับเต้านมอสทิเช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก และถุงนำ้ เป็นการตรวจที่รวดเร็ว แม่นยำ ช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์โรคเกี่ยวกับเต้นนมได้ถูกต้องและแม่นยำ

ศูนย์รักษาสลายนิ่ว

ศูนย์สลายนิ่ว

Lithotripsy Center