
สุขภาพดี้ดีลองทำดู
GoodHEALTH
อาหารต้านมะเร็งเต้านม
ประโยชน์และการฝึกสมาธิ
อาหารต้านมะเร็งเต้านม
1. ธัญพืช
ได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่วเมล็ดแห้ง ฯลฯ ช่วยให้ร่างกายได้รับโฟเลท มีส่วนช่วยในการต้านมะเร็งเต้านม อีกทั้งยังให้ผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
2. เต้าหู้หรือน้ำนมถั่วเหลือง
วันละ 1 แก้วสามารถให้ผลดีต่อการป้องกันการเกิดมะเร็งและลดอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่รับประทานในปริมาณมากเกินจำนวนดังกล่าว เพราะการได้รับถั่วเหลืองในปริมาณมากเกินไป ก็สามารถส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตขึ้นจากฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกับฮอร์โมนเพศหญิงของถั่วเหลืองได้
3. กระเทียมและหอม
มีสารออร์กาโนซัลเฟอร์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มีกลิ่นฉุน แต่สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะกระเทียมสามารถป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งเพิ่มภูมิคุ้มกันลดน้ำตาลในเลือด ต้านการเหนี่ยวนำการเกิดมะเร็งจากสารเคมี ลดการเจริญของเซลล์มะเร็ง และลดคอเรสเตอรอลได้อีกด้วย
4. พริก
มีสรรพคุณทางยา สารแคปไซซินที่อยู่ในพริก ซึ่งให้ความเผ็ดร้อนนั้น มีสรรพคุณทางยาสูง โดยจะช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งให้ตายลงได้ และนอกจากจะพบในพริกทั่วไปแล้ว ยังพบในพริกไทยอีกด้วย
5. ขิงและข่า
ในข่ามีสารเคมีธรรมชาติที่กระตุ้นเอนไซม์กลูตาไธโน-เอส-ทรานสเฟอรเรส ซึ่งมีหน้าที่ในการแอนติออกซิแดนท์ จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งได้ ส่วนขิงก็เป็นพืชในกลุ่มเดียวกันกับข่า ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เนื่องจากขิงมีสาร 6-จินเจอรอล ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
6. ขมิ้นและพริกไทยดำ
สารเคมีธรรมชาติที่พบได้ในขมิ้นและพริกไทยดำ ช่วยยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกที่เต้านมได้
7. ผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด
ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีเส้นใยสูงเช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล ผลไม้ที่มีสีแดงสดและมีสีออกแดงหรือสีส้ม ที่สามารถรับประทานได้ทั้งเปลือกเพราะให้สาร flavonoid ลดการเกิดมะเร็งได้
8. ผักในกลุ่มที่มีสีเข้ม
ได้แก่ บีทรูท ผักโขม แครอท มะเขือเทศ และกะหล่ำม่วง เป็นต้น ยิ่งมีสีเข้มมากย่อมหมายถึงว่ามาสารมีประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น สารสีที่อยู่ในผักเหล่านี้ได้แก่ ไบโอฟลาวานอยด์ และแคโรทีนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องร่างกายและยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์มะเร็งอีกด้วย
9. กระหล่ำปลี กระหล่ำดอก
ซึ่งมีสารไฟโตเคมิคัลที่มีสรรพคุณในการต่อต้านมะเร็งเต้านม โดยการปรับเปลี่ยนฮอร์โมนเอสโตรเจนประเภทที่ส่งเสริมการเกิดโรคมะเร็ง ให้กลายเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยป้องกันมะเร็ง
10. เห็ด
การบริโภคเห็ดและสารสกัดจากเห็ด มีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง และกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้
11. ชาเขียว
ในการศึกษาเดียวกันนี้พบว่า ชาเขียวมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านมะเร็ง เพราะเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และเมื่อบริโภคเห็ดร่วมกับชาเขียวจะยิ่งป้องกันมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม โดยไปลดผลความรุนแรงของมะเร็งลง
12. พืชผักจากทะเล
มีคุณสมบัติช่วยชะลอการเกิดมะเร็งเต้านมได้ เช่น สาหร่ายทะเล
โรคมะเร็งเป็นโรคที่ผู้หญิงค่อนข้างสูง ผู้หญิงเราจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินใหม่ โดยลดอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะเป็นไขมัน อาหารหวาน อาหารที่มีสีผสม เนื้อสัตว์ และของหมักดอง เป็นต้น โดยราควรหันกลับมากินอาหารที่ต้านมะเร็งอย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้น และจะได้ประสิทธิผลสูงสุด เมื่อคุณทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำ
ประโยชน์และการฝึกสมาธิ
ข้อควรปฏิบัติในการฝึกสมาธิ
- กราบบูชาพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจ
- ควรนั่งทำสมาธิในท่าขัดสมาธิ นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย วางไว้บนตัก หลังตรง ศีรษะตรง ไม่ควรนั่งพิง เพราะจะทำให้ง่วงได้ง่าย กรณีเป็นคนป่วย หรือคนที่ไม่สามารถนั่งท่าขัดสมาธิได้ ก็สามารถนั่งบนเก้าอี้แทนได้ จากนั้นทอดตาลงต่ำ อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้ร่างกายปวดเมื่อย แล้วค่อย ๆ หลับตาลง
- ส่งจิตไปให้ทั่วร่างกาย ว่ามีกล้ามเนื้อส่วนใดเกร็งอยู่หรือไม่ แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้น พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ลึก ๆ มี "สติ" อยู่กับลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบปลายจมูก
- เมื่อเริ่มฝึกสมาธิใหม่ ๆ ควรใช้เวลาแต่น้อยก่อน เช่น 5-15 นาที จากนั้นเมื่อฝึกบ่อย ๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มระยะเวลาขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจค่อย ๆ ปรับตัวตาม หากรู้สึกปวดขา หรือเป็นเหน็บ ให้พยายามอดทนให้มากที่สุด หากทนไม่ไหวจึงค่อยขยับ แต่ควรขยับให้น้อยที่สุด เพราะการขยับแต่ละครั้งจะทำให้จิตใจกวัดแกว่ง ทำให้สมาธิเคลื่อนได้ แต่ถ้าหากอดทนจนอาการปวด หรือเป็นเหน็บเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว อาการเหล่านั้นจะหายไปเอง แล้วจะเกิดความรู้สึกเบาสบายขึ้นมาแทนที่
- หากเกิดเสียงดังขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสิ่งของกระทบกัน ให้ถือว่าไม่ได้ยินอะไร และอย่าไปใส่ใจกับมัน
- หากเกิดอะไรขึ้นอย่าตกใจ และอย่ากลัว เพราะทั้งหมดเป็นอาการของจิตที่เกิดขึ้น ให้ตั้งสติเอาไว้ในมั่นคง ทำจิตใจให้ปกติ หากเห็นภาพที่น่ากลัวให้สวดแผ่เมตตาให้สิ่งเหล่านั้น หรือนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรายึดไว้เป็นที่พึ่งทางใจ ถ้าภาพเหล่านั้นไม่หายไป ให้ตั้งสติเอาไว้ หายใจยาว ๆ แล้วถอนสมาธิออกมา เมื่อจิตใจมั่นคงเป็นปกติแล้ว จึงค่อยทำสมาธิใหม่อีกครั้ง โดยควรสวดมนต์ไหว้พระ อธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครองการปฏิบัติของเราด้วย
- เมื่อจะออกจากสมาธิ ให้สังเกตดูว่า ใจของเราเป็นอย่างไร แล้วแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อุทิศส่วนกุศลที่ได้จากการทำสมาธินั้นให้กับเจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณของเรา แล้วหายใจยาว ๆ ลึก สัก 3 รอบ ก่อนค่อย ๆ ถอนสมาธิช้า ๆ ค่อย ๆ ลืมตาขึ้น
วิธีหายใจที่ถูกต้อง
บางคนที่กำลังฝึกสมาธิอาจประสบปัญหาไม่รู้วิธีการหายใจเข้า-ออกที่ถูกต้องวิธีฝึกกายหายใจโดยหลังจากนั่งตัวตรง ขัดสมาธิแล้ว ให้กำหนดลมหายใจ ซึ่งการหายใจเข้า-ออกนั้น ควรแบ่งเป็น 3 จังหวะคือ
- จังหวะแรก : สูดหายใจให้ยาวถึงสะดือ
- จังหวะที่สอง : กลั้นหายใจค้างไว้ นับ 1-5 เพื่ออัดอากาศไว้ในปอดให้เต็มที่
- จังหวะที่สาม : ค่อย ๆ หายใจออกอย่างช้า ๆ ทำอย่างนี้ซ้ำกัน 3 ครั้ง
จากนั้น ใช้นิ้วชี้ขวาอุดรูจมูกขวาไว้ หายใจเข้าทางรูจมูกซ้าย แล้วเปลี่ยนมาใช้นิ้วชี้ซ้ายอุดรูจมูกซ้าย หายใจออกทางรูจมูกขวา จากนั้น เปลี่ยนมาใช้นิ้วชี้ขวาอุดรูจมูกขวา หายใจออกทางรูจมูกซ้าย แล้วกลับมาหายใจเข้าทางรูจมูกซ้ายอีกครั้ง ทำสลับกันไปมาอย่างนี้รวม 10 ครั้ง จากนั้น หายใจเข้า-ออก ปกติ ด้วยรูจมูกทั้งสองข้าง อีก 5 ครั้ง โดยทำช้า ๆ ไม่ต้องรีบร้อน
ประโยชน์จากการฝึกสมาธิ
- ส่งผลให้จิตใจผู้ทำสมาธิผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ จึงช่วยให้หลับสบายคลายกังวล ไม่ฝันร้าย
- ช่วยพัฒนาให้มีบุคลิกภาพดีขึ้น กระปรี้กระเปร่า สง่าผ่าเผย มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น รู้สึกควบคุมอารมณ์ จิตใจได้ดีขึ้น เหมาะสมกับกาละเทศะ
- ผู้ฝึกสมาธิบ่อย ๆ จะมีความจำดีขึ้น มีการพินิจพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ รอบคอบมากขึ้น ทำให้เกิดปัญญาในการทำสิ่งใด ๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเล่าเรียน และการทำงานดีขึ้น
- ช่วยคลายเครียด และลดความเครียดที่จะเข้ามากระทบจิตใจได้ เมื่อเราไม่เครียด ร่างกายก็จะหลั่งสารทำให้เกิดความสุข ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะมีภูมิต้านทานเชื้อโรค และยังช่วยชะลอความแก่ได้ด้วย
- ทำให้จิตใจอ่อนโยนขึ้น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกิดความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
- ระงับอารมณ์โมโห อารมณ์ร้ายต่าง ๆ ได้ เพราะการฝึกสมาธิช่วยให้จิตสงบนิ่งมากขึ้น และเมื่อจิตสงบนิ่งแล้วจะมีพลังยับยั้งการกระทำทางกาย วาจา ใจได้
- มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีจิตเป็นสมาธิจะมีความดันอัตราการหายใจลดลง หัวใจเต้นช้าลง คลื่นสมองช้าและเป็นระเบียบขึ้น การเผาผลาญอาหารในร่างกายลดลง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้มีสุขภาพดี และช่วยบำบัดโรคได้ โดยเฉพาะหากปฏิบัติร่วมกับการออกกำลังกาย